วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

กลุ่ม 103 เวลา 08.30-12.20 น.

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

ปฐมวัย 

         วันนี้ได้ฟังการวิเคราะห์กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยและร่วมทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆ เรื่องหน่อยการเรียนรู้มาตรฐาน คือ สิ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

คู่มือในการเรียนรู้

1. ภาษา

2. คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

มาตรฐานเนื้อหาเด็กปฐมวัย

1. จำนวนและการดำเนินการ

2. เข้าใจความหลากหลายของการแสดงจำนวน

3. เส้นขนาน

4. เข้าใจความหลากหลายของกระบวนการ

เนื้อหาที่เด็กต้องเรียนรู้

1. การวัด

2. รูปทรง

3. พืชคณิต คือ เข้าใจรูปแบบและความสำคัญระหว่างความสัมพันธ์ของตำแหน่งและตัวอย่าง

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

5. ทักษะและขบวนการทางวิทยาศาสตร์

วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่ม 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับหลักการที่ทำให้เด็กเกิดการรับรู้ คือการให้เด็กได้ลงมือทำโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และจะมีทั้งเป็นแบบอิสระเด็กได้ใช้ความคิดอย่างอิสระและแบบที่คุณครูจัดประสบการณ์ให้ต้องทำตามแบบที่ครูจัดให้ ซึ่งการตั้งเกณฑ์ต้องมีอย่างเดียวในการเปรียบเทียบและการแทนค่ามีความสำคัญ คือทำให้เด็กเห็นภาพได้อย่างชัดเจน และอาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มละ 10 คนเท่าๆกันโดยให้ประดิษฐ์สื่อจากกล่องที่แต่ละคนเอามา และกลุ่มของดิฉันได้ต่อและออกมาเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า เรือปิโตรเลียม

สิ่งสำคัญในการประเมิน
1. ดูที่กระบวนการคิดของเด็กเป็นหลัก
2. ทำใจให้เห็นตามที่เขาบอก

ผลงานแต่ละกลุ่มมีดังนี้
1. เรือปิโตรเลียม
2. แท็กเตอร์02013
3. หุ่นยนต์โลโบ้
4. หนอน

วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

กลุ่ม 103 เวลา 08.30-12.20 น.

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้อาจารย์ให้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียนกลุ่มของดิฉันทำหน่อยสัตว์ วันนี้อาจารย์ก็ยกตัวอย่างอธิบายให้นักศึกษาฟังที่ละหัวข้ออย่างชัดเจน

1. การนับ คือ การที่ให้เด็กนับจำนวนสัตว์ในสวนสัตว์ว่ามีสัตว์กี่ตัวโดยใช้ตัวเลขแทนค่าจำนวน

2. ตัวเลข คือ การแทนค่าโดยการจัดลำดับที่

3. จับคู่ คือ การจับคู่สัตว์บก-สัตว์น้ำ โดยมีทิศทาง

4. จัดประเภท คือ นำสัตว์ทั้งหมดมารวมกันและแบ่งโดยว่าสัตว์แต่ละตัวอยู่ประเภทใด มีกี่ตัว โดยใช้เกณฑ์สัตว์บก-สัตว์น้ำในการแบ่ง

5. การเปรียบเทียบ คือ การเปรียบเทียบสัตว์บก-สัตว์น้ำ โดยสังเกตความแตกต่างของสัตว์แต่ละชนิดและนับจำนวน

6. การจัดลำดับ คือ การเรียงสัตว์จากตัวเล็กไปหาตัวใหญ่โดยใช้เกณฑ์จัดส่วนสูงของสัตว์ทั้งหมด

7. รูปทรงและพื้นที่ คือ การเปรียบเทียบสัตว์จากเนื้อที่และขนาดของที่อยู่อาศัยของสัตว์

8. การวัด คือ การวัดปริมาณอาหารที่สัตว์กินไปว่ามีปริมาณเท่าไรและชั่งน้ำหนักหาค่าปริมาณ

9. เซต คือ การแบ่งสัตว์กินพืชและสัตว์กินเนื้อและแย่งชนิดว่าสัตว์ตัวไหนกินเหมือนกัและแบ่งกลุ่ม

10. เศษส่วน คือ การแบ่งสัตว์มี 2 กลุ่ม เท่าๆกัน เช่น มีสัตว์ 20 ตัว แบ่งเท่าๆกัน เป็น 2 กลุ่ม

11. ทำตามแบบหรือลวดลาย คือ การจัดกิจกรรมโดยเรียงลำดับรูปจากสัตว์ตัวเล็กไปหาสัตว์ตัวใหญ่

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ คือ การนำดินน้ำมันที่มีขนาดเท่าๆกันมา 2 ก้อน แล้วปั้นดินน้ำมันเป็นรูปสัตว์อะไรก็ได้อย่างละ 1 ตัว ที่มีขนาดปริมาณดินน้ำมันเท่าๆกัน