วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้นักศึกษาแบ่งกระดาษออกเป็น 4 ส่วน ให้เท่าๆกัน แล้วให้นักศึกษาเขียนชื่อแล้วทำสัญลักษณ์แทนตัวเอง และอาจารย์ได้สาธิตเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มโดยแบ่งนักศึกษาเป็น 2 กลุ่ม คือ นักศึกษาที่มาก่อน 08.30 น. และนักศึกษาอีกกลุ่มตั้งแต่ เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป
สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เลขฮินดูอารบิก ตัวเลขแทนค่า จำนวน /ลำดับที่
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
( นิตยา  ประพฤติกิจ  2541 ; 17-19 )

1. การนับ (counting) เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น

2. ตัวเลข (Numeration)  เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม

3. การจับคู่ (Matching) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท (Classification) เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้

5. การเปรียบเทียบ (Comparing)  เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6. การจัดลำดับ (Ordering) เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น

7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ

8. การวัด (Measurement)  มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน

9. เซต (Set) เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น

10. เศษส่วน (Fraction)  ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?

11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning)  เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์

12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation)  ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม




                                   สัญลักษณ์แทนตัวเอง

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยอาจารย์จะให้เอาหัวข้อที่ไปศึกษาสัปดาห์ที่แล้วของทั้ง 3 คนมาสรุปและวิเคราะห์ออกมาเป็นงานกลุ่มโดยหัวข้อมีดังต่อไปนี้

1. วิเคราะห์ความหมายของคณิตศาสตร์
2. จุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์
3. ทฤษฎีการสอน
4. ขอบข่ายคณิตศาสตร์

รายชื่อสมาชิกในกลุ่มมีดังนี้
1. นางสาวจงกลนี   หน่อแก้ว
2. นางสาวคริษฐา    วีแก้ว
3. นางสาวสุทัศนีย์   แตงแก้ว
 
คณิตศาสตร์
 
             หมายถึง วิชาที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มากในแง่ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันและคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและยังเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการคิดอย่างมีแบบแผนมีความเป็นเหตุเป็นผลโดยพิสูจน์ให้เห็นจริงและได้มีภาษาเฉพาะตัว คือ สัญลักษณ์ ที่สื่อความหมายเป็นสากล
 
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
 
              คือ การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นหลักโดยครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กสนใจในเรื่องรอบๆตัว ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและเด็กจะได้จินตนาการ รู้จักสังเกต ทดลองโดยมีความรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของหลักสูตรและผู้เรียนจะได้พัฒนาความรู้

ทฤษฎีและวิธีการสอน

              1. สอนโดยใช้เกมนันทนาการ
              2. สอนโดยให้เด็กเล่นและทำกิจกรรมไปด้วย
              3. สอนโดยการถาม-ตอบ
              4. สอนโดยให้เด็กลงมือกระทำเอง

ขอบข่ายการเรียนคณิตศาสตร์

              1. การนับ
              2. ตัวเลข
              3. การจับคู่
              4. การจัดประเภท
              5. การเปรียบเทียบ
              6. การจัดลำดับ
              7. รูปทรง
              8. การวัด
              9. รูปแบบ
             10. ปริมาตรและความจุ
              
เพลง เข้ากลุ่ม

         กลุ่มไหน ๆ รีบเร็วไว      หากลุ่มพลัน
         อย่ามัวรอช้า                  เวลาจะไม่ทัน
         ระวังจะเดินชนกัน          เข้ากลุ่มพลันว่องไว
 
เทคนิคการสอนเพลงเด็ก

           1. ให้เด็กพูดตาม
           2. ให้ร้องเพลงไปพร้อมๆกัน
           3. ให้นักเรียนได้ฝึกร้องเพลงเอง
      
ลักษณะของบทเพลง

           1. ใช้คำที่เข้าใจง่าย
           2. ใช้คำที่ไม่หยาบคาย
           3. มีเนื้อหาสอดคล้องกับบทเรียน
           4. มีจังหวะและท่วงทำนองที่ไพเราะ




วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ได้อธิบายแผนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน วิธีการแแบ่งกลุ่มว่าจะแบ่งกันอย่างไร เช่น ให้จับฉลาก นับเลข 1 กับ 2 หรือจะใช้วิธีแบ่งกลุ่มแบบแบ่งผมสั้น ผมยาว ตามมาตรฐานที่กำหนดร่วมกัน และอะไรรอบตัวเราบ้างที่เกี่ยวกับตัวเลขและคณิตศาสตรื เช่น ปากกา ดินสอ จำนวนคน รรองเท้ากี่คู่ กระเป๋า นาฬิกา เป็นต้น
อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องจำนวนนับ นับเสร็จจะได้ค่าของจำนวนตัวเลข จากนั้นนำมาเขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลข คือ สัญลักษณ์
 
การคำนวณของเด็กอนุบาล
 
การวัด= เปรียบเทียบ = คำนวณ
       
เด็กอนุบาลจะคำนวณจากการดูสิ่งของอะไรที่ยาวกว่าและอะไรที่สั้นกว่า และถ้าเด็กอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นจะต้องคำนวณโดยตัวเลข เช่น 6-3=3 เป็นต้น
         - เด็กแรกเกิด-2 จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
         - อายุ 2-4 เด็กเริ่มใช้ภาษาได้มากขึ้นแล้วอาจจะพูดได้หรือจำได้แบบสั้นๆ
         - อายุ 4-6 ใช้ภาษาได้ยาวและมากขึ้นกว่าเดิมแต่ยังคงใช้เทอมอมิเตอร์ในการวัด และเด็กจะเริ่มใช้เหตุผลเด็กสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์หรือตอบตามที่ตาเห็น
พฤติกรรมของเด็ก คือ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วจะส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อเก็บและบันทึก ฝึกประสบการณ์ให้เด้กเยอะๆและจะเกิดความรู้ใหม่ๆขึ้นมาแล้วจะเกิดเป็นความรู้ใหม่ต่อไป
 

พฤติกรรมของเด็ก (เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5)

  1. ตาดู เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กแรกคลอดออกมา สำหรับลูกคนแล้วเราก็ลืมตาดูตั้งแต่แรกเกิด และพบว่าเด็กสามารถมองเห็นได้ในระยะที่ไม่ห่างจากตัวเองมากนัก
  2. หูที่ใช้ในการฟัง หูก็เช่นเดียวกับตา ตั้งแต่แรกเกิดระบบประสาทสัมผัสของการได้ยินของเด็กก็ทำงานอย่างสมบูรณ์ ความจริงเริ่มทำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว
  3. การรับรส หรือเรื่องของลิ้น เรื่องนี้สำคัญในเด็กทารก เด็กเล็กๆใช้ปากในการสำรวจ เขาจะสำรวจตั้งแต่ตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ เป็นกำปั้น หรือเป็นสิ่งต่างๆที่เขาคว้าและจับได้ มักจะเอาใส่ปากเสมอ เป็นการเริ่มรับสัมผัสในเรื่องของลิ้นที่ใช้ในเชิงของการสัมผัสมากกว่าเรื่องของรสชาติ
  4. จมูก เราจะเห็นพร้อมๆกันว่าเวลาที่เด็กคว้าจับได้ บางทีเด็กเอาใส่ปาก บางทีเขาก็ถูบริเวณจมูก ความจริงแล้วประสาทสัมผัสของเด็กเริ่มทำงานแล้ว เพียงแต่เขายังไม่เข้าใจในเรื่องของการแยกว่ารสชาติที่ได้รับหรือกลิ่นที่ได้นั้นเป็นกลิ่นอะไร แต่เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น เด็กจะแยกได้ง่ายๆว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นที่ชอบหรือไม่ชอบ
  5. ประสาทสัมผัสโดยตรงคือสัมผัสที่ผิว ทารกมีความไวต่อสิ่งที่มีสัมผัสมากทีเดียว และการสัมผัสทางผิวหนังนั้นเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในหลายส่วนในเด็กเป็นอย่างมาก
 
 
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ข้อตกลงในการเข้าห้องเรียน
1.เข้าห้องเรียนพร้อมกันเวลา 09.00 น. ถ้าเข้าสายเกินกว่านี้อาจารย์จะเช็กชื่อว่ามาสาย และถ้าเข้าห้องเรียนช้าเกิน 15 น. จะเช็กชื่อว่าขาดเรียน
2.เมื่อเข้าห้องเรียนทุกครั้งจะให้เช็กชื่อ
3.เมื่อเข้าห้องเรียนจะตรวจเช็กเครื่องแต่งกายทุกครั้ง
4.ก่อนออกจากห้องเรียนให้ตรวจเช็กสิ่งของอุปกรณ์ ถ้ามีขยะให้เก็บไปทิ้งให้เรียบร้อย
5.ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มทุกชนิดมารับประทานในห้องเรียน

อาจารย์ให้เขียนความหมายของวิชาจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้มา 2 หัวข้อ

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความหมายของเราคืออะไร
     - คือการคิดเกมคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้คิด
     - คือการคิดบวก ลบ ตัวเลขแบบง่ายๆ
2.ได้อะไรจากวิชานี้บ้าง
     - ได้ทักษะในการคิดเลขและได้เรียนรู้สื่อต่างๆในการเรียนวิชานี้
     - ได้เรียนรู้และลงมือกระทำจริง เช่น การคิดเกมคณิตศาสตร์ การบวกและลบ

คำที่สำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีด้วยกันอยู่ 3 คำ คือ

การจัดประสบการณ์       คณิตศาสตร์        สำหรับเด็กปฐมวัย

 การรับรู้ คือ ความเข้าใจ เข่น เวลานักเรียนคุยกันคุณครูจะหยุดพูดนั้นคือสัญญาญที่เข้าใจกันว่ามีคนคุยในห้องเรียน

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อความอยู่รอด เช่นจากเดิมที่เราจะข้ามถนนตรงไหนก็ได้ แต่พอเรารู้สึกไม่ปลอดภัยจึงเลือกที่จะข้ามตรงทางม้าลายเพื่อให้ปลอดภัย

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องกัน เช่น การพัฒนาของเด็กทารก คือ พลิกตัว ควำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน และวิ่ง

วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การปล่อยให้เด็กได้เล่นและได้เรียนรู้ด้วยตนเอง


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ประวัติของเพียเจต์

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้

1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.1) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motorb Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี

1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด(Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น

 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เด็กอายุ 2-4 ปี

· ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี

1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี

1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

เพียเจต์ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

1.ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences)

2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)

3.ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree)

4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)

6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation)

2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)

3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation)

3.3) การเกิดความสมดุล (equilibration)