วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ข้อตกลงในการเข้าห้องเรียน
1.เข้าห้องเรียนพร้อมกันเวลา 09.00 น. ถ้าเข้าสายเกินกว่านี้อาจารย์จะเช็กชื่อว่ามาสาย และถ้าเข้าห้องเรียนช้าเกิน 15 น. จะเช็กชื่อว่าขาดเรียน
2.เมื่อเข้าห้องเรียนทุกครั้งจะให้เช็กชื่อ
3.เมื่อเข้าห้องเรียนจะตรวจเช็กเครื่องแต่งกายทุกครั้ง
4.ก่อนออกจากห้องเรียนให้ตรวจเช็กสิ่งของอุปกรณ์ ถ้ามีขยะให้เก็บไปทิ้งให้เรียบร้อย
5.ห้ามนำอาหารหรือเครื่องดื่มทุกชนิดมารับประทานในห้องเรียน

อาจารย์ให้เขียนความหมายของวิชาจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้มา 2 หัวข้อ

1.คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความหมายของเราคืออะไร
     - คือการคิดเกมคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้คิด
     - คือการคิดบวก ลบ ตัวเลขแบบง่ายๆ
2.ได้อะไรจากวิชานี้บ้าง
     - ได้ทักษะในการคิดเลขและได้เรียนรู้สื่อต่างๆในการเรียนวิชานี้
     - ได้เรียนรู้และลงมือกระทำจริง เช่น การคิดเกมคณิตศาสตร์ การบวกและลบ

คำที่สำคัญของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีด้วยกันอยู่ 3 คำ คือ

การจัดประสบการณ์       คณิตศาสตร์        สำหรับเด็กปฐมวัย

 การรับรู้ คือ ความเข้าใจ เข่น เวลานักเรียนคุยกันคุณครูจะหยุดพูดนั้นคือสัญญาญที่เข้าใจกันว่ามีคนคุยในห้องเรียน

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้นโดยการใช้ประสาทสัมผัสเพื่อความอยู่รอด เช่นจากเดิมที่เราจะข้ามถนนตรงไหนก็ได้ แต่พอเรารู้สึกไม่ปลอดภัยจึงเลือกที่จะข้ามตรงทางม้าลายเพื่อให้ปลอดภัย

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีลำดับขั้นตอนและต่อเนื่องกัน เช่น การพัฒนาของเด็กทารก คือ พลิกตัว ควำ คืบ คลาน นั่ง ยืน เดิน และวิ่ง

วิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การปล่อยให้เด็กได้เล่นและได้เรียนรู้ด้วยตนเอง


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ประวัติของเพียเจต์

เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้

1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1.1) ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว(Sensori-Motorb Stage)ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี

1.2) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด(Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น

 ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เด็กอายุ 2-4 ปี

· ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ (Intuitive Thought) เด็ก อายุ 4-7 ปี

1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี

1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี

เพียเจต์ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

1.ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences)

2.ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)

3.ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree)

4.ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation)

5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function)

6.ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation)

2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้

3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation)

3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation)

3.3) การเกิดความสมดุล (equilibration)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น