วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
กลุ่มเรียน 103 เวลา 08.30-12.20 น.
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ได้อธิบายแผนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน วิธีการแแบ่งกลุ่มว่าจะแบ่งกันอย่างไร เช่น ให้จับฉลาก นับเลข 1 กับ 2 หรือจะใช้วิธีแบ่งกลุ่มแบบแบ่งผมสั้น ผมยาว ตามมาตรฐานที่กำหนดร่วมกัน และอะไรรอบตัวเราบ้างที่เกี่ยวกับตัวเลขและคณิตศาสตรื เช่น ปากกา ดินสอ จำนวนคน รรองเท้ากี่คู่ กระเป๋า นาฬิกา เป็นต้น
อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องจำนวนนับ นับเสร็จจะได้ค่าของจำนวนตัวเลข จากนั้นนำมาเขียนเป็นตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลข คือ สัญลักษณ์
 
การคำนวณของเด็กอนุบาล
 
การวัด= เปรียบเทียบ = คำนวณ
       
เด็กอนุบาลจะคำนวณจากการดูสิ่งของอะไรที่ยาวกว่าและอะไรที่สั้นกว่า และถ้าเด็กอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้นจะต้องคำนวณโดยตัวเลข เช่น 6-3=3 เป็นต้น
         - เด็กแรกเกิด-2 จะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
         - อายุ 2-4 เด็กเริ่มใช้ภาษาได้มากขึ้นแล้วอาจจะพูดได้หรือจำได้แบบสั้นๆ
         - อายุ 4-6 ใช้ภาษาได้ยาวและมากขึ้นกว่าเดิมแต่ยังคงใช้เทอมอมิเตอร์ในการวัด และเด็กจะเริ่มใช้เหตุผลเด็กสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์หรือตอบตามที่ตาเห็น
พฤติกรรมของเด็ก คือ ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 แล้วจะส่งข้อมูลไปยังสมองเพื่อเก็บและบันทึก ฝึกประสบการณ์ให้เด้กเยอะๆและจะเกิดความรู้ใหม่ๆขึ้นมาแล้วจะเกิดเป็นความรู้ใหม่ต่อไป
 

พฤติกรรมของเด็ก (เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5)

  1. ตาดู เราจะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กแรกคลอดออกมา สำหรับลูกคนแล้วเราก็ลืมตาดูตั้งแต่แรกเกิด และพบว่าเด็กสามารถมองเห็นได้ในระยะที่ไม่ห่างจากตัวเองมากนัก
  2. หูที่ใช้ในการฟัง หูก็เช่นเดียวกับตา ตั้งแต่แรกเกิดระบบประสาทสัมผัสของการได้ยินของเด็กก็ทำงานอย่างสมบูรณ์ ความจริงเริ่มทำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว
  3. การรับรส หรือเรื่องของลิ้น เรื่องนี้สำคัญในเด็กทารก เด็กเล็กๆใช้ปากในการสำรวจ เขาจะสำรวจตั้งแต่ตัวของเขาเอง ไม่ว่าจะเป็นนิ้วมือ เป็นกำปั้น หรือเป็นสิ่งต่างๆที่เขาคว้าและจับได้ มักจะเอาใส่ปากเสมอ เป็นการเริ่มรับสัมผัสในเรื่องของลิ้นที่ใช้ในเชิงของการสัมผัสมากกว่าเรื่องของรสชาติ
  4. จมูก เราจะเห็นพร้อมๆกันว่าเวลาที่เด็กคว้าจับได้ บางทีเด็กเอาใส่ปาก บางทีเขาก็ถูบริเวณจมูก ความจริงแล้วประสาทสัมผัสของเด็กเริ่มทำงานแล้ว เพียงแต่เขายังไม่เข้าใจในเรื่องของการแยกว่ารสชาติที่ได้รับหรือกลิ่นที่ได้นั้นเป็นกลิ่นอะไร แต่เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น เด็กจะแยกได้ง่ายๆว่ากลิ่นนั้นเป็นกลิ่นที่ชอบหรือไม่ชอบ
  5. ประสาทสัมผัสโดยตรงคือสัมผัสที่ผิว ทารกมีความไวต่อสิ่งที่มีสัมผัสมากทีเดียว และการสัมผัสทางผิวหนังนั้นเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในหลายส่วนในเด็กเป็นอย่างมาก
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น